MISCIBLE : Helical Impeller Calculation


Home

>

Training

>

MISCIBLE : Helical Impeller Calculation

661 views

MISCIBLE : Helical Impeller Calculation

MISCIBLE : Helical Impeller Calculation

Standard Design for Helical Impeller
1. Ratio : H1 / D1 = 1
2. Ratio : D2 / D1 = 0.9
3. Ratio : B / D2 = 0.175
4. Ratio : H3 / D2 = 1

Note: The Minimum Mixing Time is Valid Only for Froude Number-1 < Froude Number-2

Note :
H1 = Working Liquid Level
H2 = Total Height
D1 = Tank Diameter
D2 = Diameter of Impeller
B = Blades Wide

บทความนี้ขอกล่าวถึงมาตรฐานการคำนวณใบกวนแบบ Helical Impeller หรือ บางท่านอาจจะเรียกว่า Ribbon Impeller ก็สุดแล้วแต่ครับ, โดยจะกล่าวถึงเกณฑ์ในการออกแบบ/การคำนวณ ที่เกี่ยวข้องกับงานด้าน Agitator เท่านั้นไม่เกี่ยวข้องกับงานใบกวนขนถ่าย ซึ่งโดยปกติก็จะคำนวณไม่เหมือนกัน และ ไม่เกี่ยวข้องกันเลยด้วยซ้ำครับ

ยกตัวอย่างงานจริงเช่นเคยครับ
งานชุดนี้ราคา 4.6 ล้านครับ ต้องคำนวณกันหน่อย(ดีกว่า)

Product Viscosity : 800,000 mPa.s (ประมาณ)
Product SG = 1.3

งานนี้ออกแบบใบกวนแบบ Double Helical Impeller Dia.1000 mm, ควบคุมทุกอย่างตาม Standard Design for Helical Impeller เพียงแต่มีชุดใบกวน Double แค่นั้นเอง, งานนี้ Calculation Power Absorb ออกมาได้แล้ว ให้คูณสอง ได้เลยครับ, ของเหลวปกติที่มีค่า Viscosity เกิน 100,000 mPa.s จะไม่ไหลตามกัน, พูดกันให้เห็นภาพว่า แรงพลศาสตร์จะไม่ส่งผลซึ่งกันและกัน ของเหลวจะไหล (ได้บ้าง) ก็ต้องเมื่อมีแรงจากใบกวนมากระทำเท่านั้น มาดูผลการคำนวณกันครับ

6-STEP FOR AGITATOR DESIGN STANDARD

Step-1 : Volume Calculation
Tank Dia.1000 mm x SH.1800 mm

Step-2 : Impeller Selection Impeller : Double Helical / d/D Design : 0.9 / Baffle Plate : No

Step-3 : Tip Speed Design
Degree of Mixing : Medium Mixing / Tip Speed Design : 1.0 m/sec, / Calculation Impeller Speed = 20 RPM / Calculation Dia.of Impeller = 1000 mm

Step-4 : Power Absorb Calculation
Power Calculation 57.67/75.0 kW , / Ne Number : 3.7143 / Torque : 27537.42 Nm / Specific Power --- kW/m^3

Step-5 : Shaft Calculation
Design Shaft Type : Solid / Shaft Diameter : 200 mm / Shaft Length : 1,800 mm / Steady Bearing Design : Yes / Staring Torque : 71625.00 Nm / Overhung Load : 19895.83 N / Bending Moment : 17745.73 Nm / Bending Tension : 258.44 kp/cm^2 / Torsion Tension : 464.32 kp/cm^2

Step-6 : Hydraulic Data Calculation
Reynolds Number : --- / Pumping Capacity : --- / P-Number : --- / Quality Number : ---

จาก Calculation Data นั้น ไม่สามารถคำนวณ Hydraulic Data ได้เลยครับ คือ คำนวณอะไรก็ได้หมดแหละครับ แต่ไม่อยากแสดงเพราะค่าคำนวณนั้นไม่มีประโยชน์...เช่น RE คำนวณออกมาได้ก็จะบอกว่าเป็นการไหลแบบ Laminar คือ ผมจะบอกว่ามันไม่ไหล ไม่ต้องเอาคำพูดพวกนี้มาพูดกับงานแบบนี้หรอกครับ เพราะ Viscosity ระดับนี้ ทำให้มันขยับได้นี่ก็เก่งแล้ว ผมพูดจริงๆ, ส่วนค่าคำนวณที่เชื่อถือได้ คือ การคำนวณขนาดเพลา และ การคำนวณ Absorb Power ครับ เพราะออกแบบตามทฤษฏีทุกอย่าง,

ส่วนใหญ่เราจะออกแบบและกำหนดค่า Design ใบกวนแบบนี้ โดยอ้างอิงจากการผลิตใบ screw conveyor ซึ่งไม่ได้นะครับ มันคนละเรื่องเลย

สุดท้ายคือ Similarity ครับ, สามารถทำได้ครับ Scale Up ขึ้นไปโดยควบคุม Ratio ทั้งหมด...แต่งานจะออกมาไม่ได้ครับ เพราะ Dead Zone เยอะมากเนื่องจากของเหลวไม่มีแรงพลศาสตร์ต่อเนื่องกัน, โดยหาก กูรู ระดับโลก ยังคิดว่าใช้ Similarity for Helical Impeller ได้นั้น, ผมแนะนำให้ท่านรีบลองผลิตดูครับ...สักชุดก็ได้ ... คือ ผมไม่ได้กวนนะครับ แต่คุยกับนักทฤษฏี นี่มันคุยยากจริงๆครับ ก็เลยใช้คำพูดแซวๆกันไปตามประสาครับ

ขอบคุณครับ
สถาพร เลี้ยงศิริกูล (Agitator Designer)
MISCIBLE TECHNOLOGY CO., LTD
Tel: 02.548.0414-5 / 091.7400.555
Line : @agitator
www.miscible.co.th




Blogs

-

High Shear Mixer_Ep.4

อ้างอิงจาก The Effect of Stator Geometry on the Flow Pattern and Energy Dissipation Rate in a Rotor-Stator Mixer / A.Utomo, M.Baker, A.W.Pacek / 2009, ขอแสดงทัศนะให้สอดคล้องจาก Ep ที่ผ่านมาที่ว่าด้วย du/dr ครับ อ้างอิงจากผู้วิจัย ได้ทำการใช้ CFD ในเพื่อศึกษา Vector ของความเร็ว ซึ่งจากรูปจะเห็นได้ว่าการเปลี่ยนแปลงของภาวะของระบบ (ความเร็ว) นั้นบ่งบอกถึงทิศทางและขนาดของภาวะ โดยมี Max.Velocity 6m/sec (จริงๆน้อยนะครับ) แต่ใช้ค่า Max-Min ศึกษาได้, กล่าวคือ Head ของ Stator ที่เป็นรูใหญ่จะสร้าง Velocity Drop น้อย และ รูแบบ Slot, รูแบบเล็ก ตามลำดับ นั่นแสดงว่า Shear Rate ของ Head ที่มีรูขนาดเล็กให้ du ที่มีค่ามากที่สุด (ตัด dr ออกเนื่องด้วย Gab ของ Rotor-Stator จาก CFD มีค่าเท่ากัน) นั่นคือ รูขนาดเล็กสามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของระบบในลักษณะ Emulsion ได้ดีที่สุด สอดคล้องกับสมการที่เคยกล่าวมา แต่....จาก Vector ของความเร็วจะเห็นได้ว่า Stator Head ของรูขนาดเล็กก็ทำให้เกิด Dead Zone of Mixing ได้ง่ายเช่นกัน ตรงนี้บ่งบอกอะไร บ่งบอกว่าการเลือกใช้งานสัดส่วน d/D ของ Rotor-Stator นั่นไม่เหมาะกับถังขนาดใหญ่ หรือ หากต้องการใช้ก็จำเป็นต้องมีเครื่องกวนอีกประเภทที่สามารถขจัด Dead Zone of Mixing ได้ ในลักษณะของ Scraper นั่นเองครับ การทำ CFD มีวัตถุประสงค์และประโยชน์ประมาณนี้เลยครับ แต่มักจะเข้าใจผิดกันว่า CFD คือ สิ่งที่สามารถบอก Mixing Time ได้, บอกกำลังของต้นกำลังได้ ไม่ใช่แบบนั้นครับ ปริมาณในเชิง Scalar ต้องคำนวณครับ, ส่วนปริมาณเชิง Vactor ก็เหมาะกับการทำ Simulation และ ในงานของ Fluid Mixing เราจะใช้ CFD ในการดูแนวโน้มของ Flow Pattern ของใบกวนมากที่สุด (เน้นบริเวณใกล้ๆใบกวนด้วยครับ)

Next